[ Golang ] หัดเขียน Golang | Part.1 [ Package & Variable ]
ฮายสวัสดีครับบ 👋
เอาเป็นว่า Blog นี้จะเป็นสรุปแบบย่อๆของผม ในการศึกษา Golang นะครับ ผิดพลาดตรงไหน Comment ไว้นะครับ
Golang
เว็บไซต์หลักของ Golang นะครับ (The Go Programming Language (golang.org)
และมี Playgroung ให้ลองเขียน Code เล่นแบบไม่ต้องติดตั้งลงเครื่อง ที่นี่เลย The Go Playground (golang.org)
Hello World in Golang
ในภาษา Go จะมีหน้าตา Hello World ประมาณนี้
โดย Package ที่ใช้บ่อยๆเลยก็คือ “fmt”
เราต้องทำการ import มาเพื่อใช้ฟังก์ชัน println เป็นการแสดงผลผ่าน console
Package in Golang
package ในภาษา Go มีเยอะม้ากกกก
นี้คือ Doc ของ builtin package >> Packages — The Go Programming Language (golang.org)
ในการ import package ก็ทำได้ง่ายๆคือ
import "ชื่อ package"
เช่น
import "fmt"
import "math"
หรือเราสามารถเขียนย่อเป็นแบบนี้ได้
import (
"fmt"
"math"
)
ถ้าเรา Import มาแล้วไม่ได้ใช้งานหละ ???
Output
imported and not used: "math"
Note : หากเราทำการ import package มาใช้ แล้วเราไม่ได้เรียกใช้ Golang จะเกิด Error imported and not used: “ชื่อ package”
ชนิดข้อมูลใน Golang
- bool
- string
- int, int8, int16, int32, int64
- uint, uint8, uint16, uint32, uint64, uintptr
- byte (คือ unit8)
- rune ( คือ int32 )
- float32, float64
- complex64, complex128
การประกาศตัวแปรใน Golang
1. Var
รูปแบบการประกาศก็คือ
var name type = value
เช่น
แล้วถ้าเราไม่กำหนดค่าให้มัน ค่าของมันจะเป็นอะไร ?
ในภาษา Go มีสิ่งที่เรียกว่า Zero value
0
สำหรับ type ตัวเลขต่างๆfalse
สำหรับ type boolean""
(the empty string) สำหรับ type string ต่างๆ.
Note : เราสามารถใช้ %v เพื่อแสดง value ของตัวแปรได้
เราสามารถประกาศอีกรูปแบบ โดยไม่ต้องกำหนด type
var name = value
เช่น
Golang จะทำการกำหนด type ให้เอง
แล้วเราจะรู้ type ของตัวแปรได้ยังไง ?
ในการแสดง type ของตัวแปร เราจะใช้ %T
เพิ่มเติม
เราสามารถกำหนดตัวแปรหลายๆ ตัวในบรรทัดเดียวกันได้ดังนี้
2. Short Declare
รูปแบบการประกาศแบบสั้นคือ
เราจะใช้ ( := ) ในการประกาศตัวแปร ซึ่งจะทำให้ code ของเราอ่านง่ายขึ้น
name := value
เช่น
Note : แต่การประกาศแบบสั้นไม่สามารถประกาศภายนอก function ได้
ไว้เจอกันใน Part ต่อไปนะครับ ❤